วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ขนมไทย ใบเตย


                 ใบเตย...มีดีที่ไม่ใช่แค่กลิ่นหอม



ใบเตย


          "กลิ่นใบเตย หอมชื่นใจ" ...ก็แหมเวลาเราได้กลิ่นหอม ๆ ของใบเตย หรือ "เตยหอม"อยู่ในขนมไทยทีไร ก็ชวนให้เราอยากคว้าขนมไทยชิ้นนั้นขึ้นมาหม่ำไปซะที 

          สำหรับ "เตยหอม" นั้น ทุกคนน่าจะรู้จักกันดีใช่ไหมล่ะจ๊ะ โดยเฉพาะ "ใบเตย" ที่มักถูกนำมาผสมในอาหาร เพื่อให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน แถมยังช่วยแต่งสีเขียวให้กับขนมไทยด้วย ซึ่งคนทั่วไปอาจจะรู้ว่าประโยชน์ของ "เตยหอม" มีเพียงเท่านี้ แต่จริง ๆ แล้ว นอกจาก "เตยหอม" จะมีดีที่ความหอมแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยาที่ดีต่อสุขภาพแฝงอยู่ด้วยนะ


          มาที่สรรพคุณสุดแสนจะน่าอัศจรรย์ของเตยหอมกันบ้าง นอกจากจะนำ "ใบ" มาใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแล้ว ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ยังพบว่า "เตยหอม" มีฤทธิ์ทางยาด้วย ดังนี้



          ใบ  ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ เพราะใบเตยมีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจ จึงช่วยบำรุงหัวใจได้อย่างดี วิธีรับประทานคือ ใช้ใบสดผสมในอาหาร แล้วรับประทาน หรือนำใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง

           ช่วยดับกระหาย เนื่องจากใบเตยมีกลิ่นหอมเย็น หากนำมาผสมน้ำรับประทาน จะช่วยดับกระหาย คลายร้อน ทานแล้วรู้สึกชื่นใจ และชุ่มคอได้เป็นอย่างดี วิธีรับประทานคือ นำใบเตยสดมาล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด แล้วเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำดื่ม

           รักษาโรคหัด หรือ โรคผิวหนัง โดยนำใบเตยมาตำแล้วมาพอกบนผิว



          รากและลำต้น ใช้รักษาโรคเบาหวาน เพราะรากและลำต้นของเตยหอมนั้น มีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด วิธีรับประทานก็คือ ใช้ราก 1 กำมือนำไปต้มเป็นน้ำดื่ม ทุกเช้า-เย็น 

           ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยการนำต้นเตยหอม 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ไปต้มกับน้ำดื่ม

     นอกจากนี้ เตยหอม ยังช่วยแก้อ่อนเพลีย ดับพิษไข้ และชูกำลังได้อีกด้วย เห็นสรรพคุณมากมายขนาดนี้แล้ว ต้องบอกว่าไม่ธรรมดาจริง ๆ สำหรับเจ้าพืชสีเขียวใบเรียวชนิดนี้ 

สูตรขนมไทยทำจากใบเตย


วุ้นสังขยาดอกมะลิใบเตย

สูตรวิธีการทำวุ้นสังขยาดอกมะลิใบเตย

ส่วนผสม
1. วุ้นผง 10 กรัม
2. น้ำลอยดอกมะลิ 450 กรัม
3. น้ำตาลทราย 150 กรัม
4. หัวกะทิ 100 กรัม
5. ไข่ไก่ 2 ฟอง
6. ใบเตย

วิธีทำวุ้นสังขยาดอกมะลิใบเตย
  1.  ผสมหัวกะทิกับน้ำตาลและไข่ไก่ โดยใช้ใบเตยขยำให้ส่วนผสมเข้ากัน และน้ำตาลละลาย จากนั้นนำไป กรองด้วยผ้าขาวบางเพื่อเอาสิ่งสกปรกออก
  2. ตั้งกระทะทองเหลืองบนไฟอ่อนๆ ใส่น้ำลอยดอกมะลิและวุ้นผงลงไป คนจนละลายเข้ากันดี จากนั้นจึง ใส่ส่วนผสมไข่กะทิ (ที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1 ลงไป) เร่งไฟให้แรงขึ้น รอจนส่วนผสมเดือด คนส่วนผสม ต่อเนื่องจนวุ้นมีลักษณะเหนียวเป็นยางมะตูม จึงปิดไฟ
  3. เทส่วนผสมวุ้นสังขยาลงในแบบหรือพิมพ์ที่เตรียมไว้ ทิ้งไว้ให้หายร้อนสักพัก จึงใส่ตู้เย็น
  4. เคาะวุ้นออกจากแบบ จัดใส่จานเสริฟ พร้อมรับประทานได้ทันที (ถ้ายังไม่รับประทาน ควรเก็บ ไว้ในตู้เย็นก่อน)




ตะโก้ใบเตย

ส่วนผสม

แป้งซ่าหริ่ม 1/4 ถ้วย

ข้าวโพดต้มสุกหรือแห้วต้มสุก 1/2 ถ้วย

น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วย

น้ำใบเตยคั้นข้นๆ 1/2 ถ้วย

กระทงใบเตย

วิธีทำ

ผสมแป้งซ่าหริ่ม น้ำตาล ข้าวโพดหรือแห้ว น้ำใบเตย เข้าด้วยกัน ลงในกระทะทอง ตั้งไฟกวนจนแป้งสุกใส ตักหยอดใส่กระทะใบเตย 1/2 ของกระทงโดยหยอดอย่างรวดเร็ว


ส่วนผสมหน้าตะโก้

หัวกะทิ (มะพร้าวขูดขาว 500 กรัม) 2 ถ้วย

แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ

เกลือป่น 1/2 ช้อนโต๊ะ

ใบเตยหั่นท่อนยาว 4 ชิ้น


วิธีทำ

ใส่หัวกะทิ แป้งข้าวเจ้า น้ำตาล เกลือ เข้าด้วยกัน ใส่ใบเตยตั้งไฟกลาง กวนจนมีลักษณะข้น ลดไฟ กวนจนแป้งสุก โดยเนื้อแป้งจะเป็นเงา ยกลง เอาใบเตยออกตักหยอดบนตัวตะโก้

หมายเหตุ การหยอดหน้าตะโก้ต้องหยอดขณะที่ร้อน จะทำให้หน้าตะโก้เรียบสวย



สูตรขนมถ้วยใบเตย หอม หวาน มัน ตัวแป้งไม่แข็ง

ส่วนผสม

ส่วนผสมตัวขนม

๑. แป้งข้าวจ้าว ๑/๒ ถ้วย

๒. แป้งท้าวยายม่อม ๓ ช้อนโต๊ะ

๓. น้ำตาลปีบ ๑ ถ้วย

๔. หางกะทิ ๑ ถ้วย

๕. น้ำใบเตย ๑/๔ ถ้วย

ส่วนผสมหน้าขนม

๑. หัวกะทิ ๑ ถ้วย

๒. แป้งข้าวจ้าว

๒ ช้อนโต๊ะ

๓. เกลือป่น ๑/๒ ช้อนชา

วิธีทำ 

  1. เตรียมลังถึง นึ่งถ้วยตะไลให้ร้อนรอไว้ด้วยนะคะ ผสมแป้งสองชนิดเข้าด้วย เติมน้ำตาลปี๊บ และน้ำใบเตยลงไป นวดให้เข้ากันกับแป้ง ทะยอยใส่หางกะทิลงไป นวดจนเนียน และเข้ากันด
  2. ส่วนหน้าขนม ผสมแป้งและหัวกะทิ และเกลือ คนให้เข้ากัน พักไว้ก่อนค่
  3. นำตัวแป้งขนมที่เตรียมไว้แล้วหยอดลงในถ้วยตะไลที่ร้อนแล้ว หยอดลงถ้อยประมาณครึ่งหนึ่งของถ้วยตะไล ปิดฝาซึ้งนึ่งประมาณ ๕-๖ นาที หรือจนตัวขนมสุก
  4. จากนั้นก็หยอดหน้าขนมลงไปบนตัวแป้งที่นึ่งแล้ว นึ่งต่ออีกประมาณ ๕ นาทีค่ะ อย่านึ่งนานนะคะ เพราะตัวหน้าขนมจะแตกมัน 
  5. รอให้ขนมเย็นแล้วค่อยแคะขนมออกจากถ้วยค่ะ



ข้าวเหนียวมะม่วง สูตรใบเตย


วัตถุดิบและสัดส่วน:

ข้าวเหนียวนึ่งสุก 1/2 กิโลกรัม

กะทิ 300 กรัม

เกลือป่น 2 ช้อนชา

น้ำตาลทราย 100 กรัม

ใบเตย 5-10 ใบ

มะม่วงสุก 2-3 ผล

เครื่องปรุง:
กะทิ 

เกลือป่น 

น้ำตาลทราย
ขั้นตอนการปรุง:
1. นำข้าวเหนียวไปล้างทำความสะอาดและแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นนำไปสะเด็ดน้ำ 

2. นำผ้าขาวบางรองไว้ในซึ้งหรือหม้อนึ่ง แล้วจึงนำข้างเหนียววางลงบนผ้าขาวบาง จากนั้นนำไปนึ่งจนข้าวเหนียวสุก

3. กะทิแบ่งครึ่งนำไปตั้งบนไฟอ่อนๆ ใส่เกลือป่น น้ำตาลคนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้ากันดี จากนั้นจึงใส่ใบเตยที่คั้นน้ำไว้แล้วลงไป ทิ้งไว้สักพักจึงปิดไฟ ส่วนกะทิอีกครึ่งแบ่งไว้ตั้งไฟเคี่ยวกับเกลือ ไว้สำหรับราดหน้า

4. ใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งไว้จนสุกดีแล้วลงไป จากนั้นจึงใส่น้ำกะทิที่เคี่ยวไว้ในขั้นตอนที่สามตามลงไป คนจนส่วนผสมเข้ากันทั่ว และทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที ก็สามารถนำไปเสริฟกับมะม่วงได้


รูปภาพ

ประโยชน์ของสีสันในผักและผลไม้

ประโยชน์ของสีสันในผักและผลไม้



ผัก และผลไม้มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายของเรายิ่งนัก ไม่ว่าจะเป็นไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารที่ช่วยในการย่อยและระบบขับถ่าย ยิ่งไปกว่านั้นสีสันของผักและผลไม้ต่าง ๆ ยังมีประโยชน์ อย่างที่เราคาดไม่ถึงอีกด้วย ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่าสีของผักและผลไม้จะไปมีประโยชน์ได้อย่างไรกัน? ในความเป็นจริงแล้วสีสันสวยงามในพืชผักและผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นสีแดงสดใสในมะเขือเทศ สีเหลืองเปล่งปลั่งในมะม่วงสุก สีส้มเข้มข้นในแครอท หรือแม้แต่ผักต่าง ๆ ที่มีสีเขียวสด นอกจากจะช่วยให้เรามีความรู้สึกว่าอาหารนั้นมีหน้าตาน่ารับประทานและมีรส ชาติเอร็ดอร่อยแล้ว สีสันที่ว่านี้ยังมีคุณประโยชน์และมีบทบาทมากพอ ๆ กับวิตามินเลยทีเดียว


สีสัน ในพืช ผัก และผลไม้ที่เราเห็นกันนั้นมาจากสารเคมีตามธรรมชาติที่แตกต่างกันไป ได้แก่ คลอโรฟีลล์, แคโรทีนอยด์, เบตาแคโรทีน, แอนโทไซยานิน เป็นต้น โดยสารเคมีตามธรรมชาติที่ว่านี้จะมี คุณสมบัติที่ทำให้พืช ผัก และผลไม้แต่ละชนิดมีสีสันที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น คลอโรฟีลล์เป็นสารที่ทำให้ผักมีสีเขียว, แคโรทีนอยด์ทำให้มีสีเหลืองและสีแดง สำหรับในผลไม้เองก็มีโมเลกุลชนิดที่เรียกว่า แอลฟาแคโรทีน แกมม่าแคโรทีน และไลโคฟีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของการสร้างสีของผลไม้ ตัวอย่างเช่น มะเขือเทศและแตงโมมีสีแดงสดเพราะมีไลโคพีนมากกว่าสารสีอย่างอื่น เป็นต้น แต่ที่น่าแปลกใจก็คือ ทำไมผลไม้บางชนิดตอนที่ยังดิบอยู่จะมีสีเขียว แต่พอสุกกลับมีสีเหลือง ยิ่งสุกก็ยิ่งเหลือง ซึ่งนั่นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ สารเคมีธรรมชาติที่ทำให้สีของผลไม้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อย่างมะม่วงจะมีการเปลี่ยนแปลงของคลอโรฟิลล์และแคโรทีนอยด์ กล่าวคือ ตอนที่เป็นมะม่วงดิบจะมีคลอโรฟิลล์มาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปสารแคโรทีนอยด์ในมะม่วงจะเพิ่มมากขึ้นในขณะที่คลอโรฟีลล์ ลดลง จึงทำให้มะม่วงสุกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองนั่นเอง
สาร สีแต่ละชนิดให้คุณประโยชน์อย่างไรกับร่างกายของเรา มีผู้สนใจทางเคมีวิทยาของพืชที่ชื่อว่า มาร์ ฟาร์กัวสัน ได้ทำการแยกไว้อย่างคร่าว ๆ พอให้เข้าใจได้ง่ายดังนี้ค่ะ

1. สารสีส้ม ได้แก่ เบต้าแคโรทีน (Betacarotene) ซึ่งเป็นเม็ดสีเหลืองส้มที่มีมากในแครอทและมะละกอ แคโรทีนเป็นสารที่มีศักยภาพสูงในการต่อต้านอนุมูลอิสระอันเป็นตัวก่อมะเร็ง และแคโรทีนยังสามารถทำลายเซลล์มะเร็ง โดยผลจากการทดลองกับหนูพบว่าแคโรทีนทำให้ขนาดก้อนมะเร็งลดลงได้ถึง 7 เท่าทีเดียว แถมยังสามารถลดการขยายตัวของก้อนมะเร็งในปอดและกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ใน การต้านมะเร็ง นอกจากนี้ เบตาแคโรทีนที่อยู่ในแครอทและมะละกอยังช่วยให้ผิวพรรณของเรามี สีเหลืองสวยงามได้ อีกด้วย และหากใครรับประทานมะละกอห่ามมาก ๆ นาน 2 ปี จะช่วยเปลี่ยนสีผิวหน้าที่เป็นฝ้าให้หายได้โดยไม่ต้องพึ่งครีมแก้ฝ้าเลย


2. สารสีแดง ไลโคพีน (Lycopene) เป็นตัวการทำให้เกิดมะเขือเทศและแตงโมมีสีแดงสดใส แต่ก็ยังมีสาร เบต้าไซซิน (Betacycin) ที่ให้สีแดงในลูกทับทิม บีทรูท และแคนเบอร์รี่เช่นกัน โดยทั้งไลโคพีนและเบต้าไซซินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งหลายชนิดเช่นกัน โดยเฉพาะไลโคพีนมีฤทธิ์ต้านมะเร็งมากกว่าเบต้าแคโรทีนถึง 2 เท่าทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมะเร็งปอด เป็นต้น และผลจากการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ที่รับประทานอาหารใส่มะเขือเทศ ไม่ว่าจะเป็นซอสมะเขือเทศ หรือน้ำมะเขือเทศในหนึ่งอาทิตย์ไม่ต่ำกว่า 10 มื้อ จะแคล้วคลาดจากมะเร็งต่อมลูกหมากได้เกือบครึ่ง

3. สารสีเหลือง ได้แก่ ลูเทอีน (Lutein) คือ สารสีเหลืองที่ให้สีสันแก่ข้าวโพด ซึ่งช่วยป้องกันความเสื่อมของ จุดสี หรือแสงสีของเรตินาในดวงตา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนแก่มองไม่เห็นได้

4. สารสีเขียว ได้แก่ คลอโรฟีลล์ (Chlorophyll) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้พืชผักต่าง ๆ มีสีเขียว ยิ่งผักที่มีสีเขียว เข้มมากก็ยิ่งมีคลอโรฟีลล์มาก เช่น ตำลึง คะน้า บร็อกโคลี่ ชะพลู ใบบัวบก เป็นต้น โดยสารคลอโรฟีลล์ที่ว่านี้มีคุณค่าอย่างมาก เพราะเมื่อคลอโรฟีลล์ถูกย่อยแล้ว จะสามารถป้องกันมะเร็งได้ ทั้งยังช่วยขจัดกลิ่นเหม็นต่าง ๆ ในตัวคนได้ดีด้วยค่ะ
5. สารสีม่วง พืชสีม่วงมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ให้สีม่วงในดอกอัญชัน กะหล่ำม่วง ชมพู่ มะเหมี่ยว มะเขือม่วง แบล็กเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าสารตัวนี้ช่วยลบล้างสารก่อมะเร็ง แถมสารแอนโทไซยานินยังออกฤทธิ์ในการขยายเส้นเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และอัมพาตได้อีกด้วย
เห็น ไหมคะว่าสารสีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในผักและผลไม้ทุกชนิดมีศักยภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระมากเพียงไร ซึ่งสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งโรคที่คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากได้เป็นอย่างดี ทีเดียว ทีนี้น้อง ๆ ก็ทราบถึงคุณประโยชน์ของสารสีในพืชผักและผลไม้กันแล้ว หากน้องจะรับประทานอาหารในมื้อต่อไปก็อย่าลืมเลือกอาหารที่มีผักและตบท้าย ด้วยผลไม้สดนานาชนิด จะได้มีสุขภาพดีกันถ้วนหน้าค่ะ

ข้อมูลเพิ่มเติม "อนุมูลอิสระ" เป็นสารที่เกิดจากปฏิกิริยาย้อนกลับของออกซิเดน ซึ่งเป็นของเสียจากการที่ร่างกายเปลี่ยนสารอาหารให้เป็นพลังงาน โดยอนุมูลอิสระนี้เป็นสารตั้งต้นที่ทำให้เกิดกระบวนการทำลายเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย อันเป็นสาเหตุความเสื่อมของร่างกายที่ก่อให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ที่เกิดจากสภาพเซลล์เสื่อม เช่น โรคหลอดเลือดและหัวใจ โรคปอด โรคสมองเสื่อม โรคมะเร็ง เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของการแก่ก่อนวัย ริ้วรอยเหี่ยวย่นบนผิวหนังได้ด้วย

แบบฝึกหัดบทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

1.     หน้าที่ของไฟร์วอลล์  (Firewall)  คือ
Firewall  เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก ๆ ของ Firewall นั้น จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่าง Network ต่าง ๆ (Access Control) โดย Firewall จะเป็นคนที่กำหนด ว่า ใคร ( Source) , ไปที่ไหน ( Destination) , ด้วยบริการอะไร (Service/Port)  ถ้าเปรียบให้ง่ายกว่านั้น นึกถึง พนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ ที่เราเรียกกันติดปากว่า "ยาม"  Firewall ก็มีหน้าที่เหมือนกันกับ "ยาม"     
หน้าที่ของไฟร์วอลล์คือเป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสาร โดยการกำหนดกฎและระเบียบมาบังคับใช้โดยเฉพาะเรื่องของการดูแลระบบเครือข่าย โดยความผิดพลาดของการปรับแต่งอาจส่งผลทำให้   ไฟล์วอลล์มีช่องโหว่ และนำไปสู่สาเหตุของการโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้
2.   จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm,virus computer,spy ware,adware  มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม
Worm
Worm มีการเรียกเป็นภาษาไทยว่า "หนอนอินเตอร์เน็ต" เป็นไวรัสประเภทหนึ่งที่ก่อกวน สามารถทำสำเนาตัวเอง (copy) และแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมฯ เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนตัว และในระบบเครือข่ายเสียหายมานักต่อนักแล้ว ไวรัส วอร์ม นี้ปัจจุบันมีหลากหลายมาก มีการแพร่กระจายของไวรัสได้รวดเร็วมาก ทั้งนี้เนื่องจากไวรัส วอร์ม จะสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Outlook Express หรือ Microsoft Outlook
ตัวอย่างชื่อไวรัส
WORM_KLEZ.H
WORM_YAHA.K
WORM_OPASERV.E
WORM_KWBOT.C
WORM_FRETHEM.M
Virus
Virus แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆในคอมพิวเตอร์โดยการแนบตัวมันเองเข้าไป มันไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ต้องอาศัยไฟล์พาหะ สิ่งที่มันทำคือสร้างความเสียหายให้กับไฟล์
Spyware
Spyware ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวโหลดเอาไปใส่เครื่องเองหรืออาศัยช่องโหว่ของ web browser ในการติดตั้งตัวเองลงในเครื่องเหยื่อ สิ่งที่มันทำคือรบกวนและละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้
ตัวอย่างชื่อ Spyware

Adware
Adware หรือ โปรแกรมสำหรับโฆษณา คือ โปรแกรมใดๆ ก็ตามที่แสดงโปรแกรมหรือทำการดาวน์โหลดโฆษณาเข้าสู่คอมพิวเตอร์เองโดยอัตโนมัติ หลังจากที่โปรแกรมได้ถูกติดตั้งลงในระบบคอมพิวเตอร์ หรือขณะที่โปรแกรมนั้นกำลังถูกใช้งานอยู่
Adware เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการโฆษณาสินค้าบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งมักจะมีรูปแบบเป็น pop-up หรือบางครั้งอาจพบเมื่อทำการค้นหาจากเว็บ search engine Adware
ตัวอย่างชื่อ Adware

3.   ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด  อะไรบ้าง
2 ชนิด คือ Appication viruses และ System viruses

4.   ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
a.    ควรติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบไวรัสและไฟร์วอลล์ เพื่อป้องกันการรับอีเมลล์ที่ไม่พึงประสงค์หรือการสื่อสารที่ไม่ได้รับอนุญาต
b.    หมั่น update โปรแกรมตรวจสอบไวรัสบ่อยๆ
c.    ไม่ควรคลิก Hyperlink ใดๆ หรือรันไฟล์ใดๆ ที่มากับอีเมล์ หรือโปรแกรมสนทนาต่างๆจากบุคคลที่ไม่รู้จัก
d.   ระวังอีเมล์ที่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว
e.    ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรทำธุรกรรมใดๆผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

5.   มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน  ได้แก่
ผู้ใดประสงค์แจกจ่ายแสดง อวดทำ ผลิตแก่ประชาชนหรือทำให้เผยแพร่ซึ่งเอกสาร ภาพระบายสี สิ่งพิมพ์ แถบบันทึกเสียง บันทึกภาพหรือเกี่ยวเนื่องกับสิ่งพิมพ์ดังกล่าว มีโทษจำคุก ปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ
โดยจะบังคับใช้กับผู้ใช้บริการอินเทอร์น็ต เซิร์ฟเวอร์ รวมถึงสื่อทุกประเภทอย่างจริงจัง ตัวอย่างซอร์ฟแวร์เพื่อดูแลการแก้ไขและป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ เอาส์ คีพเปอร์ เป็นโปรแกรมสำหรับแก้ปัญหา ภาพลามกอนาจาร เนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม การใช้เว็บที่ไม่เหมาะสมไม่ควร ฯลฯ โดยนำไปติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน สารวัตรอินเทอร์เน็ตหรือไซเบอร์อินสเปคเตอร์เป็นอีกหน่วยงานที่สอดส่องภัยอินเทอร์เน็ต สารวัตรอินเทอร์เน็ตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บล็อกเว็บไซต์ไม่เหมาะสมและเก็บฐานข้อมูลไว้
นโยบายจากกระทรวงไอซีที ด้วยตระหนักในการทวีความรุนแรงของปัญหา จึงเกิดโครงการไอซีทีไซเบอร์แคร์ ( ICT Cyber Care ) โดยต่อยอดจากไอซีทีไซเบอร์คลีน  ( ICT Cyber Clean ) แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
1.     ICT Gate Keeper เฝ้าระวังพิษภัยอินเทอร์เน็ตบนเครือข่ายและวงจรเชื่อมต่อระหว่างประเทศ พัฒนาซอฟต์แวร์นี้โดยมีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงไอซีที ได้มอบหมายให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ดำเนินการเพื่อเฝ้าระวังปิดกั้นข้อมูลไม่เหมาะสมตั้งแต่ต้นทาง
2.   House Keeper ซึ่งจัดทำเป็นซีดีรอม และแจกฟรีให้กับผู้ปกครองหรือดาวน์โหลดฟรีจากเว็บไซต์ของกระทรวง โปรแกรมนี้จะมีอยู่ 3 ส่วน
-     ส่วนแรก คิดดี้แคร์ ปิดกั้นเว็บไซต์อนาจารและเว็บที่ไม่เหมาะสมที่กระทรวงไอซีทีมีข้อมูลที่คาดว่าจะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
-     ต่อมาเป็นส่วนพีเพิลคลีน ติดไอคอนไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะคลิกเข้าไปเมื่อพบภาพลามกอนาจาร ประชาชนจึงสามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเฝ้าระวังภัยได้เช่นกัน
-     ส่วนสุดท้าย สมาร์ทเกมเมอร์ แก้ปัญหาการติดเกม และควมคุมการเล่นเกมของเด็ดๆ ผู้ปกครองจะเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของการเล่นเกมและช่วยดูแลเรื่องความรุนแรงของเกม แต่ละส่วนนี้คงต้องมีการปรับปรุงให้ทันสมัยตลอดเวลา

แบบฝึกหัดบทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม


แบบฝึกหัดบทที่  8  การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

1.   ตอบ นาย A ไม่ผิดทั้งทางกฎหมายและทางจริยธรรม เพราะเขาคิดค้นเพื่องานวิจัยไม่ใช่ทำเพื่อทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน แต่ถึงอย่างนั้นนาย A ก็ไม่ควรให้นาย B นำโปรแกรมไปใช้ในทางที่ผิดๆ
นาย B ผิดทั้งทางกฎหมายและจริยธรรม เพราะนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการโจมตีผู้อื่นถึงแม้ว่าจะเป็นเพื่อนของตนก็ตาม แถมยังให้นางสาว C ใช้โปรแกรมนี้อีก ซึ่งนางสาว C ก็นำไปเผยแพร่ต่อไปอีก อาจจะทำให้ผู้ที่เผยแพร่โปรแกรมนี้ได้รับความผิดไปอีกด้วย
นางสาว C ผิดทั้งทางกฎหมายและทางจริยธรรม เพราะส่งต่อโปรแกรมให้กับเพื่อนๆ หากเพื่อนบางคนเอาไปทำให้ผู้อื่นเดือนร้อนจนทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน เสียหาย รายแรงไปกว่านั้นอาจทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายก็เป็นได้

2.   ตอบ นาย J ไม่ผิดทางกฎหมายแต่ผิดทางจริยธรรมที่ทำเพื่อความสนุกสนาน สร้างความเข้าใจผิดให้แก่คนที่ไม่รู้เรื่องราว เพราะ นาย J สร้างความเข้าใจผิดให้กับเด็กชาย K ซึ่งไม่ได้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่คุณครูให้ทำรายงาน และเด็กชาย K ก็ไม่ได้ศึกษาค้นคว้าในหลายๆที่ เลยทำให้เด็กชาย K ทำรายงานที่ผิดๆส่งคุณครู    

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

บทที่ 2 บทบาทสารสนเทศกับสังคม


1.ให้นิสิตหารายชื่อเว็บไซต์หรือเทคโนโลยีที่ให้บริการต่างๆ ตามหัวข้อเหล่านี้มาอย่างละ3 รายการ
 a.   การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการศึกษา
           -  http://www.moe.go.th/moe/th/home/main.php     <---- กระทรวงศึกษาธิการ
           -  http://www.mua.go.th/  <---- สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
           -  http://www.obec.go.th/   <----- เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
 b.   การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพธุรกิจ พาณิชย์ และสำนักงาน
           -  www.fap.or.th  <------  สภาวิชาชีพบัญชี
           -  www.rd.go.th    <-----  กรมสรรพากร
           -  www.sec.or.th   <----- สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
 c.   การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพการสื่อสารมวลชน
           -   http://www.nectec.or.th/ <---- ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
           -   http://www.mict.go.th/  <---- กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
           -   http://emuseum.treasury.go.th/  <----ศาลาเครื่องราชอิสริยยศ
 d.   การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางอุตสาหกรรม
           -   http://www.industry.go.th/page/welcome_Mol.aspx  <----กระทรวงอุตสาหกรรม
           -   http://www.dpim.go.th/ <----- กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
           -   http://www.ocsb.go.th/th/home/index.php  <--- สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย
e.   การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางการแพทย์
           -   http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/dmsweb_v2_2/  <---กรมการแพทย์
           -   http://www.dmsc.moph.go.th/dmsc/  <----กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
           -   http://www.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index <---กรมอนามัย
 f.    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพทางทหารตำรวจ
           -  http://www.led.go.th/  <---กรมบังคับคดี
           -  http://www.cifs.moj.go.th/  <--- สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
           -  http://www.rlpd.moj.go.th/  <---- กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
 g.   การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพวิศวกรรม
           -  http://www.ceat.or.th/2010/index.php  <---สมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย
           -  http://www.thaiengineering.com/  <---คลังปัญญาของคนทำงานวิศวกรรม
           -  http://www.mne.eng.psu.ac.th/   <---- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
h.   การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิชาชีพด้านการเกษตรกรรม
           -  http://www.rid.go.th/  <---กรมชลประทาน
           -  http://www.dld.go.th/th/  <---กรมปศุสัตว์
           -  http://www.forest.go.th/intro.php  <---กรมป่าไม้
i.    การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับคนพิการต่างๆ
      -http://www.csri.or.th/new2012/index.php?option=com_k2&view=item&id=769:%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%96%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3&Itemid=585    <-----มูลนิธิพระมหาไถ่เพื่อพัฒนาคนพิการ
           -   http://www.tabod.com/  <--- สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
           -   http://www.a-sa.org/   <---- ชมรมอาสาสมัครเพื่อนคนตาบอด
2.  มหาวิทยาลัยมหาสารคามเตรียมเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาให้กับท่าน มีอะไรบ้าง บอหมาอย่างน้อย 3อย่าง

        -  มีระบบสืบค้นสารสนเทศ  Web OPAC  มีฐานข้อมูลออนไลน์   มีหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ของ   ห้องสมุด
        -  ระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย
        -  ระบบยืมหนังสือต่อหนังสือแบบออนไลน์
3.  ข้อ 2  จงวิเคราะห์ว่าท่านจะเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านั้นมาทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองอย่างไรบ้าง
        -  การยืมหนังสือต่อแบบออนไลน์ช่วยให้เราลดระยะเวลา ลดการเดินทางไปยังที่สำนักวิทยบริการ
        -  การมีระบบอินเทอร์เน็ตช่วยให้การใช้ชีวิตในปัจจุบันของเราง่ายขึ้น สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและก้าวทันโลกมากได้ยิ่งขึ้น